ANIMAL MANAGEMENT

11

แนวคิดการจัดระเบียบสุนัขจรจัดในค่ายทหาร

พื้นที่ของในค่ายทหารเป็นพื้นที่ซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง ซึ่งมักจะครอบคลุมอาณาเขตป่า หรือบางครั้งก็เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจเชิงนิเวศน์ จึงประสพปัญหาเช่นเดียวกับหน่วยงานต่างๆ และพื้นที่สาธารณะอื่นๆ ในเรื่องของการที่คนแอบนำสุนัขและแมวมาปล่อยให้เป็นภาระหรือสร้างปัญหาในเรื่องสุขอนามัยแวดล้อมต่างๆ ปัญหาของสุนัขจรจัดเหล่านี้จะต่างจากสุนัขจรจัดที่อยู่ในเมืองซึ่งอยู่กันอย่างแออัด

สุนัขจรจัดเหล่านี้เมื่อถูกปล่อยในป่าจึงขาดการปฏิสัมพันธ์ผู้คน นานเข้าจึงมีลักษณะกลายเป็นสุนัขกึ่งป่า จะออกมากินอาหารที่ผู้คนนำมาทิ้งให้ในเวลาสั้นๆ แล้วหายกลับเข้าไปอยู่ในป่า ทำให้ไม่สามารถที่จะจับฉีดวัคซีนและทำหมันได้ สุนัขจึงมีการแพร่พันธุ์และอยู่กันเป็นฝูง แต่ละฝูงจึงเป็นกลุ่มสุนัขที่ผสมพันธุ์กันเองเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว สุนัขเหล่านี้จึงอาจเป็นพาหะนำโรคจากสัตว์ป่า สู่สัตว์เลี้ยง และแพร่ถึงคนหากถูกสุนัขกัด

10

การจับสุนัขจำเป็นต้องมีความเข้าใจในพฤติกรรมของสัตว์เหล่านี้ โดยต้องจับทั้งหมดเป็นฝูงให้ได้ในครั้งเดียว ไม่สามารถใช้วิธีเป่าลูกดอกยาสลบได้ เพราะจะได้สุนัขเพียงตัวที่เป่าในขณะที่ฝูงที่เหลือจะหลบหนีหายหมด   ล้านนาด็อกเวลแฟร์ได้ใช้วิธีการจับอย่างมีมนุษยธรรม โดยการตั้งแผ่นตาข่ายขนาดใหญ่ประมาณ 4-5 เมตรในป่า และให้อาหารให้เฉพาะในกรงตาข่ายเป็นเวลา 3-4 อาทิตย์จนสุนัขคุ้นเคย และปิดกรงเพื่อจับสุนัขก่อนทำหมัน 1 วัน โดยวิธีการละมุนละม่อม ทำให้สุนัขไม่บาดเจ็บและสามารถจับสุนัขได้ทั้งฝูง ซึ่งประสพผลสำเร็จมาแล้วในการจับสุนัขกึ่งป่าที่เขื่อนแม่กวง อุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด เพื่อทำหมัน ฉีดวัคซีน และปล่อยกลับที่เดิมเมื่อหายดีแล้ว โดยสามารถจับได้ทั้งหมด 104 ตัว ในการจับ ทั้งหมด 4 ครั้ง เมื่อปี 2557-2558

ดังนั้นหากสามารถจัดระเบียบการให้อาหารสุนัขให้เป็นที่ ก็สามารถที่จะจับสุนัขได้เป็นฝูง นอกจากนี้ยังมีข้อดีต่อการจัดระเบียบเก็บสุนัขเมื่อไม่ต้องการให้สุนัขเพ่นพ่านในระหว่างพิธีการหรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งวิธีการนี้ได้นำมาเริ่มที่ศูนย์การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร มณฑลทหารบกที่ 33 ในปี 2557 สามารถจับสุนัขทำหมันได้ 20 ตัว ละยังมีอีกราว 50-70 ตัว

Comments are closed