TRADITIONAL SHELTER

08

แนวคิดการลงทุนสร้างบ้านพักพิงให้กับสุนัขที่ถูกทอดทิ้งในหลายจังหวัดก็เป็นแนวคิดที่เริ่มล้าสมัย ไม่เป็นที่ยอมรับเนื่องจากเป็นงบประมาณที่สูญเปล่าไปกับการเลี้ยงดูอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่กลับทำให้เกิดภาพลักษณ์ของการทรมานสัตว์อีกด้วย หากไม่สามารถดูแลตามตัวชี้วัดหลักอิสรภาพ 5 ประการ (Five Freedom) ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีการอื่นเพื่อกระจายสุนัข (decentralization) ทำให้กลุ่มสุนัขเล็กลงดูแลได้ง่ายขึ้นและทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบโดยไม่เป็นภาระให้กับองค์ใดองค์กรหนึ่งจนเกินที่จะแบกรับได้

ประเทศไทยมีสถาบันในชุมชน ที่เป็นที่ยอมรับและเป็นศูนย์รวมน้ำใจคือวัดที่เปรียบเสมือนบ้านพักพิงย่อยๆโดยธรรมชาติแก่สัตว์ที่ถูกทอดทิ้งเพราะ ผู้คนมักนำสัตว์เลี้ยงไปปล่อยวัด โดยหวังว่าวัดจะมีอาหารและพระเณรดูแลสัตว์เหล่านี้ วัดจึงกลายที่พักพิงโดยจำเป็น จากประสบการณ์การลงพื้นที่ทำหมันสุนัขและแมวตามวัด พบว่า สุนัขและแมวมักจะไม่ขาดแคลนเรื่องอาหาร เนื่องจากมีอาหารเหลือจากผู้มาทำบุญ แต่สัตว์เหล่านี้มักจะมีปัญหาสุขภาพ เป็นโรคผิวหนัง ขี้เรื้อน พยาธิ ไม่ได้รับรับวัคซีนและทำหมัน จึงมีการเพิ่มจำนวนและก่อปัญหาสุขอนามัยแวดล้อม สุนัขต่อสู้ กัดกัน ในหลายๆกรณี มีการปล่อยปละละเลย การรักษาเป็นไปตามมีตามเกิดจนโรคหรือบาดแผลลุกลามต้องตัดอวัยวะทิ้ง ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก หากพระและเณรเหล่านนี้มีความรู้เรื่องอาหารการกินที่เหมาะสมของสัตว์ การดูแลสุขภาพสัตว์ การปฐมพยาบาลขั้นต้น ย่อมประหยัดค่ารักษาพยาบาล และเป็นตัวอย่างแก่ชุมชนในเรื่องความเมตตา และความรับผิดชอบต่อสัตว์
ดังนั้นโครงการจัดระเบียบสุนัขในวัด ให้ความช่วยเหลือแก่วัดในการทำหมันดูแลสัตว์ที่ถูกทอดทิ้ง รวมทั้งการสนับสนุนชุมชนในการร่วมรับผิดชอบดูแลสุนัขจรจัดภายในวัด โดยที่ทุกฝ่ายต้องยื่นมือเข้าร่วมแก้ไขกับวัดจึงเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และประหยัดงบประมาณของรัฐ

Comments are closed